วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สวนหลวง ร.9

สวนหลวง ร.9 - Suan Luang RAMA IX

ตั้งอยู่ที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่

มูลนิธิสวนหลวง ร.๙ เป็นฝ่ายสนับสนุนกิจการ โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิสวนหลวง ร.๙ คณะกรรมการบริหารสวนหลวง ร.๙ และกรุงเทพมหานคร ร่วมดำเนินการให้สวนมีสภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค้ำเป็นผู้ออกแบบผังหลัก




เปิดให้เข้าชมสวนทุกวัน
ตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. แต่เก็บค่าผ่านประตูคนละ ๑๐ บาท
ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำชม


ติดต่อได้ที่สำนักงานมูลนิสวนหลวง ร.๙ ณ อาคารชายชล







วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

บันทึกภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

           ให้นิสิตบันทึกภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ใกล้ตัวมาให้ครบทั้ง 4 ประเภท (ประเภทละ 2 ตัวอย่าง) โดยต้องมีภาพอย่างน้อยแหล่งละ 4 ภาพโดย 1 ใน 4 ภาพต้องมีนิสิตเข้าร่วมอยู่ในภาพนั้น ๆ ด้วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์


แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ



ทะเลคุ้งวิมาร
    


สวนผลไม้จันทบุรี



แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน



วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา


วัดไชยวัฒนาราม จ. อยุธยา



แหล่งเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และประเพณี

  

ประเพณีรดน้ำดำหัว




 แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล







วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล

หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคลให้นิสิต Download Clip VDO เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล คนละ 2 ClipVDO พร้อมนำเสนอบน Weblog พร้อมอธิบาย

จากการศึกษาเนื้อหา พวกเราได้ทราบถึงแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล และจะ ขอสามารถสรุปออกมาได้ ดังต่อไปนี้
แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคล คณะบุคคลหรือตัวแทนขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน สามารถถ่ายทอดความรู แนวคิด หลักการ และวิธีการปฏิบัติ ให้แก่นักเรียนไดเช่น ตัวแทนด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม ตัวแทนรัฐบาลหรือหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาองค์กรต่างๆ ผู้ชำนาญพิเศษหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น พระภิกษุสงฆ์หรือผู้นำศาสนาต่างๆ ผู้นำชุมชน คณะบุคคลจากสถาบันต่างๆ เป็นต้น

และต่อไปนี้ เป็น Clip VDO ตัวอย่าง ของแหล่งทรัพยากรประเภทบุคคล ขอเชิญรับชมตามอัธยาศัย....

ท่านแรก คือ คุณ ชัยพร พรหมพันธุ์ ( ใครว่าทำนาแล้วจนไม่จริงหรอก สำคัญที่ต้องรู้จักใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบผู้จัดการนา มีมือถือเครื่องเดียว โทรสั่งทุกอย่าง มีนาเป็นของตัวเองอย่างเดียว ที่เหลือจ้างและซื้อ ทำนาอย่างนั้นล่ะจนแน่ นาก็จะไม่เหลือด้วย อย่างผมนี่ทำนาได้ปีละล้าน เก็บใบเสร็จไว้ให้ดูด้วย เผื่อใครว่าโม้ เห็นเป็นชาวนาหน้าดำอย่างนี้กำหนดเงินเดือนให้ตัวเองเดือนล่ะ หกหมื่น เมียหกหมื่น ลูกสามคน ส่งจนจบปริญญาโท เขาขายนาส่งลูกเรียน แต่ผมมีแต่จะซื้อนาเพิ่ )


รายการ คนค้นคน: ชัยพร พรหมพันธุ์ ออกอากาศ วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 ขอขอบคุณ youtube.com

ประวัติความเป็นมา
          เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว นายชัยพร พรหมพันธุ์ ได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนแต่งงาน จึงแยกครอบครัวไปประกอบอาชีพของตนเอง โดยมีการทำนาเป็นอาชีพหลัก และหล่อเสาปูนซิเมนต์เป็นอาชีพเสริม 
ต่อมาได้ริเริ่มทำการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เน้นการปรับพื้นที่นาให้เรียบเพื่อสะดวกต่อการควบคุมน้ำ การควบคุมวัชพืช และหว่านปุ๋ย ซึ่งสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณที่ต่ำกว่าชาวนาทั่วๆ ไป สำหรับพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้นำเมล็ดข้าวพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรมาปลูกใหม่เสมอ รวมทั้งมีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ ให้ผลผลิตสูง ใช้ปุ๋ยน้อย และต้านทานต่อศัตรูพืช นอกจากนี้ยังริเริ่มปรับปรุงเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลงานต่างๆ
    ปี พ.ศ. 2532 ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมร่วมกับชาวนา ทดลองใช้สารสกัดจากพืช ควบคุมโรคแมลงในนาข้าวแทนสารเคมี และมอบหมายให้นายชัยพรช่วยจัดการฉีดพ่นสารสกัดจากพืชแทน ผลที่ได้ปรากฏว่า สารสกัดจากพืชสามารถป้องกันโรคแมลงของข้าวได้จริง
    นอกจากนี้นายชัยพรยังใช้วิธีการอื่น ๆทำให้นายชัยพรเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างสิ้นเชิง
 ซึ่งนายชัยพร ได้ประสานงานกับศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคมจัดจำหน่ายข้าวปลอดภัยจากสารพิษ โดยบรรจุถุงวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าทั่วไปทั้งในและนอกเขตจังหวัดสุพรรณบุรี

     ผลจากการศึกษาค้นคว้าปรับปรุงเทคนิคการทำนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ทำให้การทำนาในพื้นที่ 65 ไร่ของนายชัยพรได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 100 ถัง ลดต้นทุนการผลิตจากเดิม 1,600 - 1,700 บาท / ไร่ ซึ่งนายชัยพรได้เผยแพร่ความรู้ที่ตนเองมีในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยาย เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ ฝึกปฏิบัติดูงานแก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน เกษตรกร และบุคคลทั่วไปทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ รวมทั้งให้พักอาศัยและอำนวยความสะดวกจนได้รับหนังสือขอบคุณยกย่องเสมอมา รวมถึงการออกข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนทางเอกสารสิ่งพิมพ์ ทำให้เป็นหนึ่งในชาวนาไทยที่ได้รับคัดเลือกให้ไปดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2537

             นอกจากนี้ ในฐานะที่นายชัยพรมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 จึงต้องเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานราชการ และเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ลูกบ้านกินดี อยู่ดี ให้อาชีพเกษตรกรรมสามารถเทียบได้กับอาชีพอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเสียสละแรงกายทำนาในที่ดินของอาจารย์โรงเรียนวัดบางใหญ่ เพื่อนำกำไรที่ได้มาเป็นเงินทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนอีกด้วย

             นายชัยพร เป็นคนหนุ่มที่ยังมีความคิดก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง แผนการดำเนินงานขั้นต่อไปได้ตั้งความหวังว่า จะผลิตข้าวที่เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณผลผลิต ปลอดภัยจากสารพิษ และมีต้นทุนการผลิตต่ำ จากความวิริยะ อุตสาหะ ความตั้งใจ และผลงานที่ปรากฏ นายชัยพรจึงได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2538


ท่านที่ 2 คือ ด.ต. ชาติชาย  โจ่ยสา ("ครูโจ่ย"  1 ในสมาชิก โครงการ ครูข้างถนน)

รายการ ผู้พิทักษ์ ออกอากาศ วันที่ 16 มกราคม 2555 ขอขอบคุณ youtube.com

         ในปี ๒๕๕๔ เครือข่ายองค์กรเพื่อเด็กเร่ร่อน และ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่อง เชิดชู "ครูข้างถนน"  (ครูผู้ช่วยเหลือเด็กเด็กเร่ร่อน เด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กด้อยโอกาส) จำนวน ๑๐ ท่านจากทั่วประเทศ


ด.ต. ชาติชาย โจ่ยสา หรือ"ครูโจ่ย" ครูข้างถนน จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ สถานีตำรวจรถไฟนพวงศ์ กองกำกับการ ๑ กองบังคับการตำรวจรถไฟ  นี่ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับครูข้างถนนท่านอื่นๆในกรุงเทพมหานคร หน้าที่ของท่านเป็นตำรวจพิทักษ์ราษฎร์ด้วยแล้ว ท่านยังเป็นครูผู้ช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน บทบาทภารกิจที่ต้องคอยดูแลทุกข์สุขของประชาชนกับการเดินทางโดยสารรถไฟแล้ว ครูโจ่ย มีความสามารถพิเศษในหลายด้าน แต่...ความสามารถที่โดดเด่นที่สุดคือการพัฒนาทักษะเด็กเร่ร่อนด้านอารมณ์กับการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง อีกทั้งยังได้นำเด็กเร่ร่อนไปมีส่วนร่วมฝึกฝนกับการแสดงมายากล(Magic Show) ผลงานด้านการป้องกันยาเสพติดก็เป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัล"การป้องกันด้านสิ่งเสพติด"ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้



ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ

ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ

ภาพตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล : โกฮับเจ้าเก่า

1). แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง


ภาพตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ : ถ้ำเอราวัณ

2). แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด

3). แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ


ภาพตัวอย่างสื่อทางด้านกายภาพ : แผ่นซีดี

(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น


(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่

ภาพตัวอย่างสื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง : หนังตะลุง

(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น

ภาพตัวอย่างสื่อกิจกรรม : หมากเก็บ

(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง

ภาพตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ : พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์

4). แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง